|
|
หญ้าแฝก
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย
ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า
มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่
|
๑.
|
กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม
ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ
|
๒.
|
กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน
ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์
และเลย เป็นต้น
|
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ
หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม
ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว
หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
|
|
|
|
|
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
๑.
|
มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ
เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
|
|
๒.
|
มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
|
๓.
|
หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่
ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
|
๔.
|
ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
|
๕.
|
มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย
แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
|
๖.
|
ระบบรากยาว สานกันแน่น
และช่วยอุ้มน้ำ
|
๗.
|
บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
|
๘.
|
ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี
ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
|
๙.
|
ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน
ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ
|
|
|
|
|
การขยายแม่พันธุ์
คือ การนำแม่พันธุ์หญ้าแฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน
ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ส่วนการขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่
ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑.
|
การขยายแม่พันธุ์หญ้าแฝก
|
|
๑.๑
|
การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่
เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้
การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร
และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน
รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น ๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐
เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุได้ ๑ เดือน
ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน
ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก
หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
|
|
|
๑.๒
|
การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่
โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร
ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ
หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน ๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง
นำหน่อมาปักชำดูแล จนกระทั่งอายุ 4
เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป
|
๒.
|
การขยายกล้าหญ้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
|
|
๒.๑
|
การเตรียมกล้าหญ้าแฝกในถุง
โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ
มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร
ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (๒x๖ นิ้ว)
และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ
เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
|
|
|
๒.๒
|
การเตรียมกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย
โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น
วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว ๑-๒
เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน
|
|
|
การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกหญ้าแฝก
|
|
|
|
|
๑.
|
การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
|
๒.
|
การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝน
พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
|
๓.
|
การเตรียมแนวร่องปลูก
โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
|
๔.
|
การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก
เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
|
๕.
|
การปลูกกล้าหญ้าแฝกในแปลงปลูก
โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร
หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
|
๖.
|
ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถว
ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก
โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง
๑.๕-๓ เมตร
|
๗.
|
กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ
เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
|
๘.
|
ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๑.
|
การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ
๔๕ ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วหญ้าแฝก
ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
|
|
๒.
|
การเลือกช่วงเวลาปลูก
การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า
๑๕ วันขึ้นไป
|
๓.
|
การตัดใบ
ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบหญ้าแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕ เซนติเมตร
เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย
ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร
เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน
เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้หญ้าแฝกแตกใบเขียว ในฤดูแล้ง
|
๔.
|
การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวหญ้าแฝกก็จะเป็นการช่วยให้หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น
และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวหญ้าแฝกได้ชัดเจน
ช่วยให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
|
๕.
|
การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก
การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่แข็งแรง
และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป
เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น