วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

English camp


ไอศกรีมทอดแบบง่ายๆ (ไอติมทอด)

ช็อคโกแลตเลิฟเวอร์

สาคูไส้หมู

พุดดิ้งญี่ปุ่น

ฝายชะลอน้ำ

ไก่ทอดกรอบ แบบฟาสต์ฟู้ด (ลุงเคนฯ)

ระนาดเอก

ประวัติความเป็นมาของระนาดเอก

 
           เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีประวัติความ เป็นมาเก่าแก่ยาวนานมากดังหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบระนาดหินซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของ ระนาดไม้ ในยุคปัจจุบัน ระนาดหินนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีต้นกำเนิดมา
นานแล้ว ระนาดหินดังกล่าวมีอายุเก่าประมาณ
3000 ปีมีลักษณะเป็น ขวานหินยาว พบที่แหล่งโบราณคดีริมฝั่งคลองกลาย หมู่ที่ ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

           ขวานหินยาวนั้นเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ นำหินมากระเทาะให้เป็นแผ่นยาวหรือเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งแต่งให้เป็นสันหนา ส่วนปลายอีกด้านจะแต่งให้บางลงจนเกิดความคมซึ่งเป็นลักษณะของ ขวานหินทั่วไปแต่มีลักษณะยาวกว่าจึงเรียกว่าขวานหิน
ยาวขวานหินยาวบางชิ้นทำจาก
 หินภูเขาไฟซึ่งมีส่วนผสมของแร่โลหะเวลาเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน และมีระดับเสียง 
สูงต่ำแตกต่างกันตาม
ขนาดความยาวหรือความหนาบางของขวานหิน ด้วยเหตุนี้นัก
 โบราณคดีจึงเรียกขวานหินยาวว่าระนาดหิน นอกจากนั้นยังได้พบระนาดหินที่ประเทศเวียตนามจำนวน 11 ชิ้น เมื่อผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซียได้ วิเคราะห์ความถี่ของเสียงระนาดหินจำนวน 10 ชิ้น ปรากฏว่ามีระนาดหินจำนวน ชิ้น มีความถี่ของเสียงเท่ากับความถี่ของเสียงดนตรี เสียงซึ่งเป็นระดับเสียงของเครื่องดน 
ตรีโบราณที่ใช้กันอยู่ใน
ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน
 จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่ากำเนิดของ ระนาดหินอาจเกิดจากการที่มนุษย์นำขวานหินธรรมดาซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานหรือเป็น อาวุธมาใช้และได้ยินเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องมือดังกล่าวเป็นเสียงดนตรี ที่ไพเราะน่าฟังจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดจินตนาการในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้น




ส้มตำปูปลาร้า

 


     ส้มตำปูปลาร้า วันนี้รู้สึกเปรี้ยวๆปากอยากกินส้มตำเลยไปหาสูตรการทำส้มตำมาฝาก มะละกอสับหยาบๆ เวลาเคี้ยวแซบคัก ที่ถูกตำเข้ากับเครื่องต่างๆ ทำให้ได้รสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด ครบทุกรส กินเปล่าๆหรือทานกับข้าวเหนียวก็เข้ากันได้ดี ไปเบิ่งวิธีการตำบักหุ่งกัน
 ส่วนประกอบและเครื่องปรุง
 
1.มะละกอดิบหั่นฝอย 2 ถ้วยตวง
2.ถั่วฝักยาว 1/2 ถ้วยตวง (หั่นความยาวประมาณ 1" )
3.แครอทหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง (สูตรอีสานแท้ ๆ ไม่ใส่เด้อ)
4.น้ำตาลปี๊บ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ (ถ้าเป็นสูตรอีสานแท้ๆ ไม่ใช้น้ำตาล)
5.น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
6.มะเขือเทศ 1/2 ถ้วยตวง (หั่นครึ่ง)
7.พริกแห้งหรือพริกสด 3-5 เม็ด เผ็ดตามใจมัก
8.กระเทียมสด 5 กลีบ
9.ถั่วฝักยาวหั่น 5 ชิ้น
10.น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
11.ปูนา หรือปูทะเล 1 ตัว
12.น้ำปลาร้า 1 ช้อนโต๊ะ
13.น้ำมะขามเปียก
ขั้นตอนการทำ
 
1.สับมะละกอที่จัดเตรียมไว้ ให้ได้เส้นมะละกอหยาบ ๆ และแครอทหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง
2.เตรียมครก กระเทียม พริก โคกให้ละเอียดพอดีคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.จากนั้นใส่มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว อีปู มะนาว น้ำปลาร้า น้ำปลา น้ำตาลปี๊ปปรุงรสชาติให้อร่อย
4.ใส่เส้นมะละกอที่เตียมไว้ใส่ลงไปตำ พอให้บุบไม่ต้องตำจนแลกละเอียด เดียวไม่อร่อยเด้อ
5.ตำ ๆ ๆ ค้น ๆ ให้เข้ากันกับเครื่องปรุง ชิมได้ทีแล้วตักเสร็ฟใส่จาน แซบอีหลีมื้อหนี้
 

อาหารภาคเหนือ


      เป็นวิธีการปรุงอาหารโดยการสับให้ละเอียด เช่น เนื้อสัตว์ ทั้งนี้เพื่อนำไปปรุงกับเครื่องปรุงน้ำพริก ที่เรียกว่า พริกลาบ หรือเครื่องปรุงอื่นๆ (ประธาน นันไชยศิลป์สัมภาษณ์, 3 กรกฎาคม 2550) เรียกชื่อลาบตามชนิดของเนื้อสัตว์ เช่น ลาบไก่ ลาบหมู ลาบงัว ลาบควาย ลาบฟาน (เก้ง) ลาบปลา นอกจากนี้ ยังเรียกตามการปรุงอีกด้วย ได้แก่ ลาบดิบ ซึ่งเป็นการปรุงลาบเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ทำให้สุก โดยการคั่ว คำว่าลาบ โดยทั่วไป หมายถึง ลาบดิบ อีกประเภทหนึ่งคือ ลาบคั่ว เป็นลาบดิบที่ปรุงเสร็จแล้ว และนำไปคั่วให้สุก และมีลาบอีกหลายประเภท ได้แก่ ลาบเหนียว ลาบน้ำโทม ลาบลอ ลาบขโมย ลาบเก๊า ลาบแม่ ชาวล้านนามีการทำลาบมานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อใด เป็นอาหารยอดนิยมและถือเป็นอาหารชั้นสูง (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5937-5944)


  


      พริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ หรือบ้างเรียกว่า น้ำพริกดำ เพราะมีสีดำของพริกแห้งย่างไฟ พริกลาบ ใช้เป็นเครื่องยำลาบ หรือเครื่องปรุงลาบ และยำต่างๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ ยำเห็ดฟาง ปัจจุบัน มีผู้ทำขาย หาซื้อได้ตามตลาดสด (ประธาน นันไชยศิลป์, สัมภาษณ์, 3 กรกฎาคม 2550)

หญ้าแฝก


ลักษณะของหญ้าแฝก        
 


          หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด ได้แก่
 
๑.
กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา ๓ และพระราชทาน ฯลฯ
๒.
กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร ๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น

         หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
  
ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
 


การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
๑.
มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง 

๒.
มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก 
๓.
หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
๔.
ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ 
๕.
มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย 
๖.
ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ 
๗.
บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ 
๘.
ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป 
๙.
ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ  
  
การขยายพันธุ์หญ้าแฝก 
 


          การขยายแม่พันธุ์ คือ การนำแม่พันธุ์หญ้าแฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


๑.
  การขยายแม่พันธุ์หญ้าแฝก
๑.๑
การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น ๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ เมื่ออายุได้ ๑ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

๑.๒
การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน ๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป
๒.
 การขยายกล้าหญ้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
๒.๑
การเตรียมกล้าหญ้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง ๕ เซนติเมตร ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (๒x๖ นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น

๒.๒
การเตรียมกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว ๑-๒ เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน
  
การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกหญ้าแฝก  
(Top)



๑.
การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
๒.
การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
๓.
การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
๔.
การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
๕.
การปลูกกล้าหญ้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร
๖.
ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง ๑.๕-๓ เมตร
๗.
กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
๘.
ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง
  
การดูแลรักษาหญ้าแฝก      
(Top)


๑.
การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ ๔๕ ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วหญ้าแฝก ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
  
๒.
การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า ๑๕ วันขึ้นไป
๓.
การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบหญ้าแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕ เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้หญ้าแฝกแตกใบเขียว ในฤดูแล้ง
๔.
การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวหญ้าแฝกก็จะเป็นการช่วยให้หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวหญ้าแฝกได้ชัดเจน ช่วยให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
๕.
การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่
  


ฝายต้นน้ำ


ฝายต้นน้ำ


ฝายต้นน้ำ หรือฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายกั้นน้ำ หรือฝายแม้ว หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น คือสิ่งเดียวกัน เรียกด้วยภาษาอังกฤษว่า Check Dam คือ สิ่งก่อสร้างขวาง หรือกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่างซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้มากวิธีการหนึ่ง
 
ประโยชน์ของฝายต้นน้ำ
        1 .ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า เนื่องจากการกระจายความชุ่มชื้นมากขึ้น สร้างระบบการควบคุมไฟป่า ด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break)
                   .  ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการได้เพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้นและแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย
       3.  ช่วยกับเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
            4.  ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางด้านชีวภาพให้แก่พื้นที่
  ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมอีกด้วย

อาหารพื้นบ้านภาคใต้


ประวัติของอาหารภาคใต้

      อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้
เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดียจีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม
ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามา
มีอิทธิพลอย่างมาก

          ความหลากหลายในสำรับอาหารปักษ์ใต้ได้รับอิทธิพลจากอินเดียใต้ ทำให้เกิดตำรับอาหารใหม่ มากมายล้วนผ่านวิธีการดัดแปลงปรับปรุงเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน ในปัจจุบัน ทำให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นอย่างชัดเจนคือ รสชาติจัดและเน้นเครื่องเทศ และมีผักสารพัดชนิดที่เรียกว่า "ผักเหนาะ" ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านหาทำได้ในท้องถิ่น เช่น สะตอ ลูกเหนียงยอดกระถิน มากินร่วมด้วย เพื่อบรรเทารสเผ็ดของอาหาร ทั้งมีสรรพคุณเป็นยา ล้วนผ่านวิธีการดัดแปลง 

อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง เช่น
             
ข้าวยำ
 ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า นาชิกาบู นาชิแปลว่าข้าว กาบูแปลว่ายำ
 ประกอบด้วยข้าวสุกที่หุงด้วยใบยอ ราดด้วยน้ำบูดู มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น พริกแห้งคั่วป่น
 และผัีกสดหลายชนิด ผักที่นิยมใช้ในการปรุงข้าวยำ ได้แก่ เมล็ดกระถิน สะตอหั่นฝอย
 ถั่วงอกเด็ดราก แตงกวา ส้มโอหรือมะขามดิบ หั่นปนกันแล้วคลุกให้เข้ากัน
 โดยทั่วไปนิยมรับประทานข้าวยำเป็นอาหารเช้าหรือกลางวัน

สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ทำให้ชาวใต้เกิดภูมิปัญญาในการถนอมอาหารโดยอาศัย
 ธรรมชาติ เช่น การตากแห้ง หมัก ดอง รมควัน เช่น ปลาเค็ม กุ้งแห้ง บูดู เป็นต้น


ภูมิปัญญาอาหารภาคใต้
          อาหารพื้นบ้านทางภาคใต้ จะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม และเผ็ด ประกอบกับภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเลแต่ด้วยอาหารทะเลมักมีกลิ่นคาวจัดอาหารภาคใต้จึงหนีไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้น เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนที่ปรุงรสและช่วยสมานแผลในกระเพาะ-ลำไส้ได้อีกด้วยนับเป็นภูมิปัญญาทางด้าโภชนาการและเวชการของคนใต้แขนงหนึ่งจึงจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง





เมนูอาหาร ภาคใต้

                 อาหารภาคใต้ เป็นอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน มีรสเค็ม เปรี้ยว แต่จะไม่นิยมรสหวาน ส่วนในเรื่องสีของอาหารนั้นส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองจากขมิ้น รสเค็มนั้นก็จะได้จากกะปิ เกลือ และเนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสชาติที่จัดจ้าน จึงนิยมรับประทานคู่กับผักเคียงหรือผักเหนาะเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนของอาหารค่ะ ในหมวดหมู่นี้ทาง เพ็ชรสังข์.คอม จึงได้รวบรวมไว้ซึ่งเมนูอาหารใต้ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสากลที่ประยุกต์ให้ เข้ากับสมัยปัจจุบัน สูตรในการทำอาหารภาคใต้ เมนูอาหารภาคใต้ อาหารของชาวใต้ และมีวิธีการทำอาหารใต้ ไว้ให้คุณผู้อ่านได้หัดทำกันหลากหลายเมนู ล้วนแล้วแต่เป็นเมนูง่ายๆ ที่สามารถทำได้เอง

อาหารภาคใต้..กุ้งแม่น้ำต้มมะม่วง
อาหารภาคใต้..กุ้งแม่น้ำต้มมะม่วงส่วนผสม กุ้งแม่น้ำต้มมะม่วงกุ้งแม่น้ำตัวขนาดกลาง 4-5 ตัว มะม่วงเปรี้ยว 1 ลูก น้ำเปล่า 2 ถ้วย หอมแดงซอย 1-2 หัว กระเทียมบุบ 3 กลีบ พริกขี้



อาหารภาคใต้..ผัดสะตอ

อาหารภาคใต้..ผัดสะตอส่วนผสม หมูสามชั้น หั่นชิ้นพอคำ 150 กรัม เครื่องในไก่ หั่นชิ้นพอคำ 1 พวง กุ้ง ปอกเปลือกเอาหัวออก 3 ตัว สะตอ แกะเอาเฉพาะเม็ด 5 ฝัก น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ